Friday, November 23, 2007

ต้นมะลิ





มะลิ


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์


อาณาจักร Plantae


ส่วน Magnoliophyta


ชั้น Magnoliopsida


อันดับ Lamiales


วงศ์ Oleaceae


สกุล Jasminum


สปีชีส์ J. sambac


ชื่อทวินาม 'Jasminum sambac' (L.) Aiton


มะลิ เป็นพืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum sambac พบได้ในเอเชีย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น คนไทยนิยมนำมาลอยน้ำเย็นเพื่อดื่ม
“ดอกมะลิ” กลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล “วันแม่” เป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้ก​ำเนิดเป็นพิเศษ
“ดอกมะลิ” กลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล “วันแม่” เป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้ก​ำเนิดเป็นพิเศษ แต่ผมก็ไม่ได้หมายความว่าจะเลือกปฏิบัติเฉพาะ​วันนี้เท่านั้น ยังคงมอบความรักต่อแม่ทุกวัน แม้มันจะดูเล็กน้อยที่จะแสดงออกแต่ก็ทำด้วยคว​ามเต็มใจ ฉะนั้น คุณตัดสินใจหรือยังว่า ในวันนั้นจะเลือก “ดอกมะลิ” พันธุ์ไหนให้แม่ของเราดี
“มะลิ” เป็นดอกไม้ที่เห็นง่ายๆ ตามสี่แยกไฟแดง ที่ถูกนำมาเรียงร้อยเป็นพวงมาลัย ด้วยกลิ่นหอมเฉพาะตัว สีขาวบริสุทธิ์ ทำให้ “มะลิ” ถูกจัดเป็นดอกไม้ยอดนิยมและเป็นไม้ดอกเศรษฐกิ​จที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้นประโยชน์ นอกจากนั้นยังมีประโยชน์รวมถึงใช้เป็นพืชสมุน​ไพรรักษาโรคได้ เช่น มะลิซ้อนดอกสดใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ตัวร้อน แก้หวัด “ดอกแห้ง” ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น “ใบสด” นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผลพุพองและแผลฝี​ดาษ “ต้น” ใช้รักษาโรคคุดทะราด ขับเสมหะและโลหิต “ราก” นำมาฝนใช้แก้ปวด รักษาโรคร้อนในและอาการเสียดท้อง เป็นต้น จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ นครปฐม
ทั้งนี้ “มะลิ” ไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว มีประมาณ 10 กว่าพันธุ์กันเลยทีเดียว จะเป็นอย่างไร เลือกชนิดไหนให้แม่ ต้องติดตามต่อไป แต่เสียดายที่ผมไม่ค่อยมีเวลาหารูปมาให้คุณดู​ได้ทั้งหมด สัญญาว่าวันหลังถ้ามีโอกาสจะนำมาสนองก็แล้วกั​น
1. “มะลิลา” เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
2. “มะลิลาซ้อน” เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
3. “มะลิถอด” ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
4. “มะลิซ้อน” ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
มะลิฉัตร หรือมะลิพิกุล
5. “มะลิพิกุล หรือ “มะลิฉัตร” ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
6. “มะลิทะเล” เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
7. “มะลุลี” มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดห​นึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียต​ะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นช​ัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์
8. “มะลิเลื้อย” ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
9. “มะลิวัลย์หรือมะลิป่า” เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป​็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ
10. “พุทธชาด” เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีล​ักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง และข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
11. “ปันหยี” ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม หนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหญ่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
12. “เครือไส้ไก่” เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว ปลายใบแหลม สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อดอกกลางบานก่อน กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบแหลม
13. “อ้อยแสนสวย” เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
14. “มะลิเขี้ยวงู” (มะลิก้านยาว) เป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด